บริการลูกค้า คำถามที่พบบ่อย
share

บริการลูกค้าทิพยประกันชีวิต


คำถามที่พบบ่อย

No. Questions Answer
1. สามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านช่องทางไหนได้บ้าง? ท่านสามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้หลายช่องทางได้แก่สำนักงานใหญ่และตัวแทนของบริษัททั่วประเทศ ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร เครื่องATM ผ่านเวบไซด์ของธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส โดยท่านสามารถค้นหาช่องทางการชำระเบี้ยประกันภัยและวิธีการใช้บริการทั้งหมดได้ที่ ่องทางการชำระเงิน
2. อยากทราบสาขาที่สามารถชำระเบี้ยประกันด้วยเงินสด หรือรูดบัตรเครดิตได้เลยมีที่ไหนบ้าง ?
สามารถชำระเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิต ได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าทิพยประกันชีวิต สำนักงานใหญ่ ทั้งนี้บางแบบประกันไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิตได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
3. เงื่อนไขของการตัดบัตรเครดิต สามารถใช้บัญชีของใครได้บ้าง ?
ต้องเป็นบัตรเครดิตประเภท Visa หรือ Master Card ของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ชำระเบี้ยประกันภัย หรือบัตรเครดิตของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นบิดา, มารดา, คู่สมรส, บุตร หรือบุคคลที่มีนามสกุลเดียวกันกับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
4.
การขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัยเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีหรือเป็นหลักฐานการชำระเงิน ต้องทำอย่างไรบ้าง? 
ท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ด้วยตัวเองบนเว็บไซต์ โดยเข้าไปที่หัวข้อดาวน์โหลดหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันภัย จากนั้นกรอกเลขที่กรมธรรม์และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน กรณีระบบไม่แสดงข้อมูล กรุณาติดต่อได้ที่ DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
5.
สามารถขอใบแจ้งกำหนดการชำระเบี้ยประกันภัยจากช่องทางไหนบ้าง?
บริษัทฯจะดำเนินการจัดส่งใบแจ้งกำหนดการชำระเบี้ยประกันภัยให้กับผู้ถือกรมธรรม์ทุกท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ หรือท่านสามารถติดต่อขอเอกสารดังกล่าวได้ที่ DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
6. ผู้ถือกรมธรรม์สามารถชำระเบี้ยประกันภัยล่าช้าได้กี่วัน? บริษัทผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัยให้ 45 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประเภทสามัญ ยกเว้นกรณีมีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย 31 วัน
7. ถ้ามีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นแบบรายปี สามารถเปลี่ยนงวดชำระได้ไหม? สามารถเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกันจากรายปี เป็น ราย 6 เดือน หรือ ราย 3 เดือนได้ (เบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระขั้นต่ำราย 3 เดือน และ ราย 6 เดือนต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท และรายปีเบี้ยประกันต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท) โดยผู้เอาประกันภัยสามารถสอบถามและยื่นเอกสารกับตัวแทนประกันชีวิต, สำนักงานใหญ่ หรือจัดส่งทางไปรษณีย์มายังสำนักงานใหญ่ได้
8. ต้องการชำระเบี้ยประกัน แต่ไม่ได้รับใบแจ้งครบกำหนดชำระ สามารถชำระได้ที่ธนาคารใด และ เอกสารที่สามารถใช้ในการชำระเบี้ยมีอะไรบ้าง ? สามารถชำระได้ที่ธนาคาร 
- ธนาคารกรุงไทย 
- ธนาคารกรุงเทพ 
- ธนาคารกสิกรไทย 
- ธนาคารธนชาต 
- ธนาคารทหารไทย 
- ธนาคารออมสิน  
 โดยระบุชื่อบัญชี “บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)” โดยใช้แบบฟอร์มใบนำฝากแบบพิเศษ หรือ ใบชำระค่าสาธารณูปโภคและบริการของแต่ละธนาคาร และสามารถติดต่อขอรับใบแจ้งครบกำหนดชำระเบี้ยประกัน จาก DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
9. ถ้าชำระเบี้ยมาได้ระยะหนึ่งแล้วแต่ยังชำระไม่หมด และมีปัญหาทางการเงินไม่สมารถชำระต่อได้ ต้องทำอย่างไร?

เรามีทางเลือกหลายทางเพื่อช่วยผ่อนคลายปัญหาทางการเงินให้คุณ ดังนี้ 
  • เปลี่ยนระยะเวลากำหนดชำระเบี้ยประกันเป็นราย 3 เดือน หรือ 6 เดือน 
  • ขอชำระเบี้ยประกันด้วยเงินปันผลที่สะสมไว้ในกรมธรรม์(ถ้ามี)
  • กู้ยืมเงินจากกรมธรรม์ทั้งหมด หรือบางส่วนของมูลค่าเงินสด เพื่อนำมาชำระเบี้ยประกัน 
  • ยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมบางรายการเพื่อลดจำนวนค่าเบี้ยประกันลง
  • ลดทุนประกันเพื่อลดจำนวนค่าเบี้ยประกันที่ต้องชำระ (การลดทุนประกันมีผลทำให้ความคุ้มครองนั้นลดลงไปด้วย)
  • เปลี่ยนแบบประกันให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน(การเปลี่ยนแบบประกันเป็นไปตามระเบียบของบริษัท)


No. Questions Answer
1. ถ้าต้องการแก้ไขหรือเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อ ได้แก่ ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ และ อีเมลของผู้ถือกรมธรรม์ต้องทำอย่างไร?
สามารถดำเนินการได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ 
1. ติดต่อด้วยตนเองทางโทรศัพท์แจ้งการเปลี่ยนแปลงผ่านทาง DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) 
2. ส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์เปลี่ยนแปลงข้อมูลการติดต่อใหม่พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ผ่านช่องทางอีเมล [email protected] 3. ส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์เปลี่ยนแปลงข้อมูลการติดต่อใหม่พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ผ่านช่องทางแฟกซ์หมายเลข 02-1185601 
4. ส่งข้อมูลเอกสารการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการติดต่อผ่านตัวแทนประกันชีวิต หรือนำส่งด้วยตัวเองเข้ามาที่สำนักงานใหญ่ บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 63/2 อาคารบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ชั้น 1,3,4,5 และ 6 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
2. หากทำกรมธรรม์หายต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบแจ้งความ (ในใบแจ้งความต้องระบุชื่อ – สกุลของผู้เอาประกันภัย เลขที่กรมธรรม์และ ชื่อบริษัท) 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• หลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียม 300 บาท 
• ส่งเอกสารข้างต้นผ่านตัวแทนประกันชีวิต หรือนำส่งเอกสารด้วยตัวเองเข้ามาที่สำนักงานใหญ่ บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 63/2 อาคาร บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ชั้น 1,3,4,5 และ 6 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
3. เอกสารที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุลของผู้เอาประกันภัย,ผู้ชำระเบี้ยประกันภัย หรือ ผู้รับผลประโยชน์ มีอะไรบ้าง ?
เมื่อผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับผลประโยชน์ได้ยื่นขอเปลี่ยนแปลงชื่อหรือชื่อสกุลจากหน่วยงานราชการเรียบร้อยแล้ว สามารถแจ้งบริษัทฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่  
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุชื่อ-นามสกุล พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเก่า และลายมือชื่อใหม่ 
• หลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงชื่อ / นามสกุล ที่ถูกต้องออกโดยหน่วยงานราชการ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่เปลี่ยนแปลงชื่อ / นามสกุล เรียบร้อยแล้ว ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• กรณีเปลี่ยนแปลงลายมือชื่อต้องมีพยานลงนามอย่างน้อย 1 ท่าน ระยะเวลาในการดำเนินการ 3 วันทำการหลังจากทางบริษัทฯ ได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์‌ 
4. เอกสารที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ มีอะไรบ้าง ?
ในกรณีที่กรมธรรม์มีผลบังคับ ผู้เอาประกันภัยสามารถขอเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์ได้ โดยแจ้งให้บริษัทฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผู้รับผลประโยชน์ใหม่จะต้องสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยได้ 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ทั้งหมดเข้ามาใหม่ พร้อมระบุส่วนแบ่ง (%)  
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับผลประโยชน์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง  
• เล่มกรมธรรม์ (เฉพาะกรณีขอเป็นผู้รับผลประโยชน์แบบเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรือสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์) 
• หลักฐานพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้รับผลประโยชน์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีผู้รับผลประโยชน์คนใหม่มิใช่ บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือบุตร ของผู้เอาประกันภัย)
5. การเปลี่ยนแปลงวิธีรับเงินคืนรายงวดตามกรมธรรม์ มีอะไรบ้าง ?
ขอให้แจ้งบริษัทฯ ทราบล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดรับเงินคืนอย่างน้อย 30 วัน ในกรณีที่แจ้งช้ากว่ากำหนด บริษัทฯจะจ่ายตามวิธีการที่เลือกไว้ก่อนและจะจ่ายตามวิธีการใหม่ในรอบปีถัดไปที่มีเงินผลประโยชน์จ่ายคืน 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุข้อ.9 หรือ จดหมายเชิญชวนโอนเข้าบัญชี 
• สำเนาหน้าสมุดบัญชีประเภทออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน ธนาคารพาณิชย์ ของผู้เอาประกันภัย / ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
‌ 

No. Questions Answer
1. การเพิ่ม/ลด สัญญาเพิ่มเติม สามารถทำได้เมื่อไร และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
สามารถยื่นความประสงค์ได้ ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ (หลักเกณฑ์การเพิ่ม/ลดสัญญาเพิ่มเติมให้เป็นไปตามระเบียบฯ ของสัญญาเพิ่มเติมนั้น ๆ ) 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุข้อที่ 8 
• หนังสือรับรองสุขภาพ (กรณีเพิ่มสัญญาเพิ่มเติม) 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• ชำระเบี้ยประกันภัยใหม่ตามเบี้ยใหม่ที่เปลี่ยนแปลง
2. ขอเพิ่มทุนประกันได้หรือไม่ และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
ผู้เอาประกันภัยสามารถขอเปลี่ยนแปลงได้ภายใน 1 ปีนับจากวันเริ่มสัญญา โดยจำนวนทุนประกันหลักที่เพิ่มขึ้นต้องเป็นอยู่ในหลักพัน 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุข้อที่ 7 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• หนังสือรับรองสุขภาพ 
• ผลตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามวงเงินเอาประกันภัยใหม่/ตามประวัติสุขภาพ 
• ชำระเบี้ยประกันภัยที่เพิ่มขึ้นย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ย 
(เงื่อนไขการเพิ่มทุนประกันเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ)
3. ขอลดทุนประกันได้หรือไม่ และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
การลดทุนประกันภัยหลักอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ โดยคิดอัตราเบี้ยประกันภัยที่อายุเดิม ทั้งนี้หากมีการชำระเบี้ยประกันภัยตามทุนเดิมในงวดนั้นๆ แล้ว ให้ทำได้ ณ วันครบรอบปีครั้งต่อไป 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุข้อที่ 7 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• ชำระเบี้ยประกันภัยตามอัตราเบี้ยประกันภัยที่ลดลง 
(เงื่อนไขการลดทุนประกันเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ)
4. ขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกันมีเบี้ยประกันภัยขั้นต่ำเท่าไร ?
ผู้เอาประกันภัยสามารถเปลี่ยนงวดชำระเบี้ยประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการ ได้โดยเบี้ยประกันภัยราย 3 เดือน และ 6 เดือน เบี้ยประกันไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท และรายปีเบี้ยประกันไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ ระบุข้อที่ 1 
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• ชำระเบี้ยประกันภัยตามงวดใหม่
5. การขอต่ออายุกรมธรรม์  สามารถต่ออายุได้ภายในกี่ปี  เอกสารที่ใช้มีอะไรบ้าง กรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยครบกำหนด ภายในระยะเวลาผ่อนผัน กรมธรรม์จะขาดอายุลง เว้นแต่ได้มีการแปลงเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จอัตโนมัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมูลค่าเวนคืนเงินสดของกรมธรรม์ฉบับนั้น ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยสามารถขอต่ออายุเพื่อให้กรมธรรม์คืนสู่สถานะเดิมได้ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่กรมธรรม์ขาดอายุ หรือแปลงเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จอัตโนมัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์ 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• ใบคำร้องขอเปลี่ยนแปลง / ต่ออายุกรมธรรม์ 
 • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• หนังสือรับรองสุขภาพ (เฉพาะแบบประกันที่มีการแถลงสุขภาพตามใบคำขอเอาประกันภัยเท่านั้น) 
• เบี้ยประกันภัยต่ออายุพร้อมดอกเบี้ย 
• ผลการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ต่ออายุข้างต้น (ถ้ามี) 
• ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพเพื่อต่ออายุกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ 
• การอ้างอิงผลตรวจสุขภาพและHIV ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การพิจารณารับประกันใหม่ 
(เงื่อนไขการต่ออายุกรมธรรม์เป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ)
6. การกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์  เอกสารที่ใช้ดำเนินการมีอะไรบ้าง
สามารถส่งเอกสารเข้ามายังบริษัทฯ ทางไปรษณีย์ หรือ ติดต่อด้วยตนเองที่ บริษัททิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
• หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน 2 ฉบับต่อ 1 กรมธรรม์ และต้องมีพยานลงนามอย่างน้อย 1 ท่าน • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ขอกู้เงินตามกรมธรรม์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
• สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน ของผู้มีสิทธิตามกรมธรรม์พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 วันทำการหลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์
No. Questions Answer
1. กรณีที่ไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่เครือข่ายของบริษัท สามารถเบิกสินไหมค่ารักษาพยาบาลได้หรือไม่ หากลูกค้าใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลนอกเครือข่ายของบริษัท (โรงพยาบาลที่ไม่ใช่โรงพยาบาลคู่สัญญา) ทั้งรพ.ของรัฐและเอกชน รวมไปถึงคลินิกในสัญญากรมธรรม์ที่มีความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติม HS , OPD ,HS-2 สามารถสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินต้นฉบับและใบรับรองแพทย์ แนบพร้อมกับแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมทดแทนของบริษัท และส่งเอกสารให้ทางบริษัทพิจารณาการจ่ายสินไหมตามผลประโยชน์ที่ซื้อไว้ (ยกเว้นการเบิกสินไหมผู้ป่วยนอก OPD-2 ที่ทำการรักษาที่คลินิกไม่สามารถเบิกสินไหมได้ ตามเงื่อนไขความคุ้มครองสัญญานี้)
2. การแจ้งเรื่องสินไหมหรือสอบถามสิทธิในการเบิกรักษา สามารถติดต่อได้อย่างไร
สามารถติดต่อได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 
1. DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) 
2. ติดต่อ TPA ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ที่หมายเลข 02-6601209
3. การเรียกร้องสินไหมสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ (HS)  และสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)  เอกสารที่ใช้ดำเนินการมีอะไรบ้าง
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
- แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหมทดแทน 
- ใบรับรองแพทย์ 
- ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ พร้อมใบแจ้งรายการค่าใช้จ่าย 
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
- สำเนาหน้าสมุดบัญชีออมทรัพย์ของผู้เอาประกัน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องกรณีต้องการรับค่าสินไหมทดแทนโอนเข้าบัญชีธนาคาร
4.
การเรียกร้องสินไหมสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพรายวัน  (HB) 
เอกสารที่ใช้ดำเนินการมีอะไรบ้าง
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
- แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหมทดแทน 
- ใบรับรองแพทย์ 
- สำเนาใบเสร็จรับเงิน 
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
- สำเนาหน้าสมุดบัญชีออมทรัพย์ของผู้เอาประกัน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องกรณีต้องการรับค่าสินไหมทดแทนโอนเข้าบัญชีธนาคาร
5.
ารเรียกร้องสินไหมสัญญาเพิ่มเติมการประกันอุบัติเหตุ (CPA)
สัญญาเพิ่มเติมสิทธิในการยกเว้นไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย (WP)
และสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์ผู้ชำระเบี้ยประกันภัย (PB)
เอกสารที่ใช้ดำเนินการมีอะไรบ้าง
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
- แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหมทดแทน 
- ใบรับรองแพทย์ 
- กรณีเรียกร้องสินไหมสัญญาเพิ่มเติมการประกันอุบัติเหตุ (CPA) ต้องมีสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ 
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ระบุความประสงค์ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง 
- สำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ของผู้เอาประกัน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีต้องการรับค่าสินไหมทดแทนโอนเข้าบัญชีธนาคาร)
6. การเรียกร้องสินไหมมรณกรรมทั่วไป เอกสารที่ใช้ดำเนินการมีอะไรบ้าง ?
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
- กรมธรรม์รวมถึงใบเสร็จการชำระเบี้ยประกันงวดล่าสุด  
- ใบมรณบัตรต้นฉบับ หากเป็นสำเนาให้นายทะเบียนรับรองสำเนาถูกต้อง 
- บัตรประชาชนต้นฉบับของผู้เอาประกันภัย พร้อมสำเนา 
- ทะเบียนบ้านต้นฉบับและบัตรประชาชนต้นฉบับของผู้รับประโยชน์ทุกท่าน พร้อมสำเนา 
- แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหม ของผู้รับประโยชน์ทุกท่าน 
- ใบรับรองแพทย์ (กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล) 
- สำเนาหน้าสมุดบัญชีออมทรัพย์ของผู้รับผลประโยชน์ทุกท่าน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง กรณีต้องการรับค่าสินไหมทดแทนโอนเข้าบัญชีธนาคาร
7. การเรียกร้องสินไหมมรณกรรมผิดธรรมชาติ  หรือเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุเอกสารที่ใช้มีอะไรบ้าง ?
เอกสารที่ใช้ดำเนินการ ได้แก่ 
- กรมธรรม์รวมถึงใบเสร็จการชำระเบี้ยประกันงวดล่าสุด 
- ใบมรณบัตรต้นฉบับ หากเป็นสำเนาให้นายทะเบียนรับรองสำเนาถูกต้อง 
- บัตรประชาชนต้นฉบับของผู้เอาประกันภัยพร้อมสำเนา 
- ทะเบียนบ้านต้นฉบับและบัตรประชาชนต้นฉบับของผู้รับประโยชน์ทุกท่าน พร้อมสำเนา 
- แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหม ของผู้รับประโยชน์ทุกท่าน 
- ใบรับรองแพทย์ (กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล) 
- สำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ (รับรองสำเนาถูกต้องจากตำรวจ) 
- สำเนารายงานชันสูตรพลิกศพ (รับรองสำเนาถูกต้องจากตำรวจ) 
- ภาพถ่ายอุบัติเหตุ (ถ้ามี) 
- สำเนาหน้าสมุดบัญชีออมทรัพย์ของผู้รับผลประโยชน์ทุกท่าน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง กรณีต้องการรับค่าสินไหมทดแทนโอนเข้าบัญชีธนาคาร 
8. เงื่อนไขความคุ้มครอง กรณีผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉินมีอะไรบ้าง ? ต้องเข้ารับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดอุบัติเหตุ และ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น
9. สอบถามผลการพิจารณาสินไหมได้อย่างไร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DLA Contact Center โทร. 02-1185555 ซึ่งให้บริการทุกวันทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 19.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

สอบถามเพิ่มเติม